จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เนื้อเพลงฟ้อนลาวดวงเดือน

ลักษณะของครอบครัวที่ดี

                                          ลักษณะของครอบครัวที่ดี
ลักษณะของครอบครัวในสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการใช้ชีวิตประจำวัน และสภาพของสังคม สังคมเมืองและสังคมชนบทก็จะมีลักษณะ
ของครอบครัวที่แตกต่างกัน ลักษณะของครอบครัวนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ ครอบครัวเดี่ยว และครอบครัวขยาย
ครอบครัวเดี่ยว คือ ครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวประกอบไปด้วย พ่อ แม่ และ ลูก ซึ่งครอบครัวลักษณะนี้มักจะพบในสังคมเมือง
ครอบครัวขยาย คือ ครอบครัวที่สมาชิกครอบครัวมีมาแต่เดิม โดยอาจจะมีปู่ย่า หรือตายาย หรือญาติคนอื่นๆ อาศัยรวมกับพ่อแม่และลูกหลาน ซึ่ง
เป็นครอบครัวใหญ่มักจะพบในสังคมชนบทและชานเมือง
ลักษณะของครอบครัวที่ดี นั้นสมาชิกในครอบครัวควรมีชีวิตที่มีความสุข และมีสุขภาพดีทั้งทางกายและทางจิตใจ โดยสามารถทำได้ดังนี้
1 มีความรักและความห่วงใยซึ่งกันและกัน
2 มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน สามารถพูดคุยกันได้อย่างเปิดเผย ไม่ปิดบัง และรู้จักรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
3 เห็นแก่ประโยชน์ของครอบครัวมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ต้องรู้จักเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว
4 มีความซื่อสัตย์และไว้วางใจกัน จะต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่ทะเลาะกันต่อหน้าคนอื่น รู้จักยอมรับผิดและให้อภัยแก่ผู้ทำผิด
5 ทำกิจกรรมร่วมกันอยู่เสมอ จะทำให้เกิดความอบอุ่น และความสามัคคีภายในครอบครัว ทำให้สมาชิกในครอบครัวอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
                                  แนวทางการแก้ปัญหาภายในครอบครัว
กลุ่มบุคคลที่มีความผูกพันกันทางอารมณ์และจิตใจในการดำเนินชีวิตร่วมกัน รวมทั้ง การพึ่งพิงทางสังคม เศรษฐกิจ และมีความสืบกันทางกฎหมายหรือสายโลหิต ครบครัวบางครอบครัวอาจมีลักษณะเป็นข้อยกเว้นบางประการจากลักษณะดังกล่าวก็ย่อมได้ และข้อยกเว้นนี้ อาจหมายรวมถึงครอบครัวที่มีสมาชิกข้ามช่วงอายุ อาศัยอยู่ด้วยกันเช่น ลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย ครอบครัวที่มีความสุข ต้องมีความรักและความอบอุ่นในครอบครัวจะมีผลต่อสุขภาพจิตที่ดี ซึ่งประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
1.
ต้องเอาใจใส่ดูแลเอื้ออาทรต่อกัน
2.
ต้องรู้จักคนที่เรารัก
3.
ต้องเคารพกันและกันตลอดทั้งเข้าใจกัน
4.
ต้องมีความรับผิดชอบ
5.
ต้องมีความวางใจกัน คือ มีความเชื่อถือและไว้ใจ
6.
ต้องให้กำลังใจกันและกันซึ่งกำลังใจก็คือพลัง
7. ต้องให้อภัยกันและกัน
8.
ต้องรู้จักสื่อสารในครอบครัว
9.
ต้องใช้เวลาด้วยกันอย่างมีคุณค่าและมีคุณภาพ
10.
ต้องมีการปรับตัวตามสภาวะที่เปลี่ยนแปลงของบุคคลในครอบครัว การปรับตัวกับภาวะความเปลี่ยนแปลง
11.
ต้องรู้จักภาวะหน้าที่ในครอบครัวและช่วยเหลือกันและกัน
12.
มีความใกล้ชิดทางสัมผัส โดยการทำจากใจจริง
จิตวิทยาการให้คำปรึกษากับครอบครัว
ในการให้คำปรึกษากับครอบครัว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประยุกต์ใช้หลักการทางจิตวิทยา เพื่อให้บรรลุผลของการให้คำปรึกษาครอบครัว ทฤษฎีว่าด้วยการให้คำปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยา(จิตวิทยาแนวพระพุทธศาสนา) " ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ แม้แต่นิสัยของเรา ตัวปัญหานั้นจริงๆแล้วไม่ใช่ปัญหา แต่วิธีการจัดการกับปัญหาต่างหากที่อาจจะทำให้เกิดปัญหา " ครูแนะแนว หรือ อาจารย์ที่ปรึกษา เชิญครอบครัวนักเรียนที่มีปัญหามาพูดคุย โดยครูแนะแนวและอาจารย์ที่ปรึกษาให้ทุกคนได้พูดความรู้สึกของตนเอง ครูแนะแนว
และอาจารย์ที่ปรึกษา(ครูประจำชั้นก็ได้) เป็นตัวเชื่อม